มาตรฐานเส้นใยแก้วนำแสง OM1, OM2 และ OM3

OM1, OM2 และ OM3 เป็นมาตรฐานของเส้นใยแก้วนำแสงชนิด Multimode ซึ่งถูกกำหนดขึ้นตามมาตรฐาน ISO/IEC 11801 โดยคุณสมบัติที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัดของมาตรฐานทั้ง 3 แบบ ก็คือ ค่าความกว้างของช่องสัญญาณ (Bandwidth) และค่าการสูญเสียของสาย (Attenuation) โดยมาตรฐาน ISO/IEC 11801 ได้มีการกำหนดมาตรฐานความกว้างของช่องสัญญาณ และมาตรฐานของค่าการสูญเสีย โดยเฉพาะเมื่อใช้ระบบการทำงานในระดับ Gigabit ไว้ดังนี้

ตารางที่ 1  
มาตรฐานความกว้างของช่องสัญญาณ (Bandwidth) ของสาย OM1, OM2, OM3

Fiber Type
Core Diameter [ mm ]
Overfilled Launch Bandwidth
Effective Laser Launch Bandwidth [MHz*km]
850nm
1300nm
850nm
OM1
50 or 62.5
200
500
n.a.
OM2
50 or 62.5
500
500
n.a.
OM3
50
1500
500
2000

ตารางที่ 2  มาตรฐานค่าการสูญเสีย (Attenuation) ของสาย OM1, OM2, OM3

OM1, OM2 และ OM3 Multimode
Wavelength
850 nm
1300 nm
Attenuation
3.5
1.5

ทุกวันนี้ หากเราเฝ้ามองวิวัฒนาการของระบบเครือข่าย เราจะพบว่า Ethernet ได้ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น Gigabit Ethernet หรือ 10 Gigabit Ethernet ซึ่งเป็นระบบที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อรองรับการทำงานบนสาย Fiber Optic แบบ Multimode และเป็นเทคโนโลยีที่มีความเร็วสูงสุดเท่าที่เคยมีมา โดยระบบ 10 Gigabit Ethernet ไม่เพียงแต่จะใช้งานบนเครือข่าย LAN ได้เท่านั้น แต่มันยังสามารถขยายขอบเขตการใช้งานออกไปในระดับ WAN ได้อีกด้วย

และในขณะที่ Ethernet ได้รับการพัฒนาอยู่นั้น มาตรฐานของสายใยแก้วนำแสงชนิด Multimode ก็ได้รับการพัฒนาควบคู่กับ Ethernet มาอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน โดยเริ่มตั้งแต่ OM1 ซึ่งถูกใช้งานสำหรับมาตรฐานทั่วไป ขณะที่ OM2 เป็นการพัฒนาเข้าสู่การทำงานในระดับ Gigabit Ethernet และ OM3 ซึ่งเป็นการทำงานในระดับ 10 Gigabit Ethernet

การใช้งานเส้นใยแก้วนำแสง MMF ทั่วไปในระดับ 10 Gigabit Ethernet นั้น จะมีข้อจำกัดด้าน Bandwidth และระยะทางที่สั้นมาก โดยสาย MMF โดยทั่วไปจะสนับสนุนการทำงานในระดับ 10 Gigabit Ethernet ที่ระยะทางประมาณ 25-82 เมตรเท่านั้น อย่างไรก็ดี หากเราต้องการใช้งานสาย MMF ที่ระยะทาง 300 เมตร ซึ่งเป็นระยะทางที่ยอมรับกันว่าเหมาะสมสำหรับโครงข่ายภายในอาคารและระบบศูนย์รวม ก็สามารถทำได้ แต่จำเป็นต้องใช้งานร่วมกับ Wide Wavelength Division Multiplexer ซึ่งนั่นหมายความว่าจะต้องมีค่าใช้จ่ายสำหรับอุปกรณ์ Active Device ทั้ง Transceiver และ WWDM ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่มีราคาแพงเพิ่มขึ้น

จากปัญหาดังกล่าว OM3 จึงเป็นมาตรฐานใหม่ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อรองรับการใช้งานในระดับ 10 Gigabit Ethernet ที่สามารถรองรับการส่งข้อมูลได้ไกลถึง 300 เมตร นอกจากนี้ OM3 ยังมีจุดเด่นอีกหลายประการไม่ว่าจะเป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเครือข่าย, ความสามารถในการรองรับข้อมูลที่สูงขึ้น และที่สำคัญการที่ OM3 สามารถใช้ Wavelength ที่ 850 nm ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถ upgrade ระบบเครือข่ายสู่ระดับ 10 Gigabit Ethernet โดยมีค่าใช้จ่ายที่ถูกลง เมื่อเทียบกับมาตรฐานปกติซึ่งใช้ 1310 nm ที่เป็นแบบ Multimode เท่านั้น

จากข้อมูลเบื้องต้นจะเห็นได้ว่า สายใยแก้วนำแสงทั้งแบบ OM1, OM2 และ OM3 จะมีข้อแตกต่างกันไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ซึ่งข้อแตกต่างนี้จะขึ้นอยู่กับผู้ผลิตเองว่าจะมีการกำหนดสมรรถนะของสายให้ใกล้เคียงหรือเทียบเท่าหรือดีกว่าได้อย่างไร ดังเช่นสายของ DRAKA ที่มีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ คือ

1. แบบ Standard
สาย Fiber Optic ชนิดนี้จะเป็นแบบ Graded Index Multimode ซึ่งเหมาะสำหรับใช้ในการเชื่อมต่อ LAN ที่มีการรับส่งข้อมูลจำพวก data, voice, video ซึ่งสามารถรองรับแหล่งจ่ายไฟชนิด LED, VCSEL และ Fabry-perot laser source

•  Standard 62.5 um fibers (OM1)
– ที่ความยาวคลื่น 850 nm จะมีค่าสูญเสียของสาย (Attenuation) < 3.2 dB/km และค่าความกว้างของช่องสัญญาณ (Bandwidth) > 200 MHz.km
– ที่ความยาวคลื่น 1300 nm จะมีค่าสูญเสียของสาย (Attenuation) < 1.0 dB/km และค่าความกว้างของช่องสัญญาณ (Bandwidth) > 600 MHz.km

•  Standard 50 um fibers (OM2)
– ที่ความยาวคลื่น 850 nm จะมีค่าสูญเสียของสาย (Attenuation) < 2.7 dB/km และค่าความกว้างของช่องสัญญาณ (Bandwidth) > 500 MHz.km
– ที่ความยาวคลื่น 1300 nm จะมีค่าสูญเสียของสาย (Attenuation) < 0.8 dB/km และค่าความกว้างของช่องสัญญาณ (Bandwidth) > 800 MHz.km

2. แบบ Hicap
สาย Fiber Optic ชนิดนี้เป็นสายที่ถูกพัฒนาขึ้นมาให้มีประสิทธิภาพดีกว่าแบบ Standard โดยดูได้จากค่า Attenuation ที่น้อยลง และค่า Bandwidth ที่มากขึ้นกับระยะทางที่รองรับสำหรับ 1000 Base-SX = 750 m และ 1000 Base-LX = 2000 m เมื่อใช้ Patch Cord LX ที่ 1300 nm

•  Hicap 62.5 um fibers (OM1)
– ที่ความยาวคลื่น 850 nm จะมีค่าสูญเสียของสาย (Attenuation) < 3.2 dB/km และค่าความกว้างของช่องสัญญาณ (Bandwidth) > 200 MHz.km
– ที่ความยาวคลื่น 1300 nm จะมีค่าสูญเสียของสาย (Attenuation) < 1.0 dB/km และค่าความกว้างของช่องสัญญาณ (Bandwidth) > 600 MHz.km

•  Hicap 50 um fibers (OM2)
– ที่ความยาวคลื่น 850 nm จะมีค่าสูญเสียของสาย (Attenuation) < 2.7 dB/km และค่าความกว้างของช่องสัญญาณ (Bandwidth) > 600 MHz.km
– ที่ความยาวคลื่น 1300 nm จะมีค่าสูญเสียของสาย (Attenuation) < 0.8 dB/km และค่าความกว้างของช่องสัญญาณ (Bandwidth) > 1200 MHz.km

3. แบบ Maxcap
Fiber Optic ชนิดนี้ออกแบบมาเพื่อการใช้งานที่ความยาวคลื่น 850 nm และ 1300 nm จากเดิมใช้ได้ที่ 1310 nm ซึ่งเป็นมาตรฐานเดิม สาย Fiber Optic แบบ Maxcap จะสามารถรองรับการใช้งานได้ในระดับ 10 Gigabit Ethernet ซึ่งต่างจาก 2 แบบแรกที่รองรับแค่ในระดับ 1 Gigabit เท่านั้น

•  Maxcap 50 um fibers (OM 3)
– ที่ความยาวคลื่น 850 nm จะมีค่าสูญเสียของสาย (Attenuation) < 3.0 dB/km และค่าความกว้างของช่องสัญญาณ (Bandwidth) > 1500 MHz.km
– ที่ความยาวคลื่น 1300 nm จะมีค่าสูญเสียของสาย (Attenuation) < 1.0 dB/km และค่าความกว้างของช่องสัญญาณ (Bandwidth) > 500 MHz.km
– Effective laser launch bandwidth at 850 nm > 2000 MHz.km

ปัจจุบันความต้องการใช้งานระบบเครือข่ายใยแก้วนำแสงที่มีความเร็วสูงเริ่มมีมากขึ้น ตามปริมาณความต้องการติดต่อสื่อสารข้อมูล และความต้องการพัฒนาระบบเครือข่าย ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว Gigabit Ethernet ถือเป็นระบบที่จะสามารถรองรับความต้องการใช้งานในระดับดังกล่าวได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ หากเราคำนึงถึงต้นทุนในการลงทุนด้านเครือข่ายแล้ว การเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมต่อความต้องการถือเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งของการวางแผนลงทุนด้านเครือข่าย และหากเรามีความต้องการในระดับ Gigabit Ethernet แล้ว การเลือกใช้เส้นใยแก้วนำแสงชนิด OM2 ก็ถือเป็นทางเลือกที่เหมาะสม บริษัท เอ็ม.วี.ที. คอมมิวนิเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด เป็นหนึ่งในตัวแทนจำหน่ายและผู้เชี่ยวชาญทางด้านสายไฟเบอร์ออฟติก ซึ่งปัจจุบันสายผลิตภัณฑ์ไฟเบอร์ออฟติกของบริษัทอยู่ในมาตรฐาน OM2 ที่พร้อมรองรับการใช้งานในระดับ Gigabit Ethernet และพร้อมจะก้าวสู่มาตรฐาน OM3 หรือในระดับ 10 Gigabit Ethernet ในอนาคตอันใกล้